วันพุธที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2552
มุมมองทฤษฎีองค์การโครงสร้างสมัยใหม่ (Modern Structural Organization Theory)
มุมมองทฤษฎีองค์การโครงสร้างสมัยใหม่
(Modern Structural Organization Theory)
การปรับปรุงแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างองค์การดั้งเดิมที่เป็นแนวคิดเป็น one best way ไปสู่แนวคิดที่ว่าโครงสร้างองค์การไม่ได้มีวิธีเดียวที่ดีทีสุด เป็นการออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสมที่สุดต่างหาก ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับลักษณะงานขององค์การ สภาพแวดล้อมขององค์การ ประเภทของสินค้าและบริการ รวมทั้งเทคโนโลยีที่ใช้อีกด้วย แนวคิดนี้ถูกเสนอโดยนักทฤษฎีองค์การโครงสร้างสมัยใหม่
แนวคิดทฤษฎีองค์การโครงสร้างสมัยใหม่
ทฤษฎีองค์การโครงสร้างองค์การสมัยใหม่ใช้พื้นฐานแนวคิดจากทฤษฎีองค์การโครงสร้างดั้งเดิม จากแนวคิดของ Fayol, Taylor, Gulick และ Weber ซึ่งเน้นประสิทธิภาพ (efficiency) และความเป็นเหตุ ผล (rationality) ในการพัฒนาแนวคิดที่มีความก้าวหน้าขึ้นไปอีก
Bolman และ Deal ได้ให้ข้อสันนิษฐานในมุมมองของโครงสร้าง (structural perspective) ดังนี้
1. องค์การเป็นสถาบันที่ใช้เหตุผลในการบรรลุวัตถุประสงค์ โดยใช้กฎและอำนาจที่เป็นทางการ การ ควบคุมและประสานงานองค์การ
2. โครงสร้างที่ดีที่สุดหรือเหมาะสมที่สุดขององค์การขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม สินค้าและบริการ และเทคโนโลยีในการผลิต
3. ความชำนาญเฉพาะด้านและการแบ่งงานกันทำส่งผลให้เพิ่มปริมาณและคุณภาพการผลิต
4. ปัญหาที่เกิดจากข้อบกพร่องทางด้านโครงสร้างสามารถแก้โดยการเปรับปรุงโครงสร้าง
สรุปประเด็นสำคัญในทฤษฎีองค์การโครงสร้างสมัยใหม่
Burns และ Stalker เสนอทฤษฎีองค์การ mechanistic and organic system พบว่าในสภาพแวดล้อมที่ไม่เปลี่ยนแปลง (stable conditions) ควรใช้โครงสร้างองค์การแบบ mechanic ซึ่งยึดกฎระเบียบที่เป็นทางการ การสื่อสารแบบแนวดิ่ง และใช้การตัดสินใจแบบใช้โครงสร้าง ขณะที่สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา (dynamic conditions) ควรใช้โครงสร้างองค์การแบบ organic ซึ่งยืดหยุ่น การมีส่วนร่วม และขึ้นอยู่กับพนักงานในการกำหนดจุดยืนและความสัมพันธ์ เช่น ในการสร้างภาวะสร้างสรรค์ องค์การแบบ organic ต้องการให้องค์การสนับสนุนเรื่องนวัตกรรม เป็นต้น
Blau และ Scott เขียน The Concept of Formal Organization กล่าวว่าทุกองค์การประกอบด้วยองค์การที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ โดยที่องค์การไม่เป็นทางการจะสนับสนุนองค์การที่เป็นทาง การในการสร้างปทัสถาน (norm) ในการปฏิบัติงานซึ่งไม่ได้กำหนดไว้อยู่ในกฎและระเบียบ และเป็นโครงสร้างทางสังคม (social organization) ซึ่งประกอบด้วย ความสัมพันธ์ทางสังคม (social relation) และความเชื่อและความสนใจร่วมกัน (shared belief and orientation) ในการสร้างแนวปฏิบัติร่วมกันในองค์การ
Waler และ Lorsch เขียน Organizational Choice : Product vs. Function อธิบายการออกแบบองค์การว่าโครงสร้างจะเป็นแบบผลิตภัณฑ์ (Product) หรือ หน้าที่ (Function) ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมองค์การและลักษณะขององค์การ ถ้าลักษณะงานเป็นแบบคงที่ หรือเป็นงานประจำ โครงสร้างแบบหน้าที่ จะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่ดีกว่า แต่ในทางกลับกัน ถ้าลักษณะงานที่ต้องการความคิดสร้างสรรค์และแก้ไขปัญหาร่วมกัน โครงสร้างแบบผลิตภัณฑ์จะดีกว่า และยังเสนอแนวทางประนีประนอม (compromise) คือ การบูรณาการโดยใช้ข้อดีของทั้งสองแบบเป็นการทำงานร่วมกัน (cross function)
Mintzberg ใช้แนวคิดของ Thompson ในเรื่อง pooled, sequential, and reciprocal organizational coupling เสนอ The Five Basic Parts of the Organization ซึ่งมีส่วนต่าง ๆ ที่จะต้องพึ่งพากัน ประกอบด้วย strategic apex , middle line, operating core, technostructure และ support staff โดยให้เห็นความสำคัญในการทำงานของแต่ละส่วนในสายปฎิบัติการ และสายสนับสนุน
Jaques แทบจะเป็นคนเดียวที่สนับสนุนแนวคิดรูปแบบองค์การโครงสร้างแบบลำดับขั้น (hierarchical-bureaucratic) เสนอว่า ลำดับขั้นการบริหาร (managerial hierarchy) ต้องเข้าใจลักษณะและวัตถุประสงค์ของตัวเอง (own nature and purpose) ในการแบ่งลำดับขั้น (layers) นั้นเกิดจากการเพิ่มมูลค่า (add value) จากความรับผิดชอบในช่วงระยะเวลา (responsibility time span) และเปรียบเทียบคล้ายกับสถานะของน้ำจากของเหลวเป็นน้ำแข็ง หรือ กลายเป็นไอน้ำ ที่เปลี่ยนแปลงตามอุณหภูมิ Jacques ยังบอกอีกด้วยว่า โครงสร้างแบบลำดับขั้นเป็นโครงสร้างที่ดีที่สุดขององค์การขนาดใหญ่
Murton และ Obel เขียน Technology as a Contingency Factor กล่าวว่า เทคโนโลยีมีผลต่อการออกแบบองค์การ ซึ่งจะประเมินได้หกมุมมอง คือ ความเป็นทางการ (formalization) การกระจายอำนาจ (centralization) ความซับซ้อน (complexity) การวางรูปแบบ (configuration) ความร่วมมือและการควบคุม (coordination and control) และการให้ผลตอบแทนจูงใจ (incentives) และยังพูดถึงเทคโนโลยีสารสนเทศ (information technology) ที่มาประยุกต์ใช้กับองค์การ1
วิเคราะห์ทฤษฎีองค์การโครงสร้างสมัยใหม่
ผู้เขียนขอวิเคราะห์ทฤษฎีองค์การโครงสร้างสมัยใหม่ที่มีในแต่ละมุมมองดังต่อไปนี้
1. มุมมองในลักษณะงาน (nature of task perspective)
ความแตกต่างของลักษณะงานประจำ (routine) และงานที่ไม่ได้ทำประจำ (non-routine) มีผลต่อวิธีการใช้กฎระเบียบ ความร่วมมือในการทำงาน วิธีการตัดสินใจ และวิธีสร้างสภาพแวดล้อมที่เหมาะ สมในการทำงาน
นักทฤษฎี
ความแตกต่างในลักษณะงานที่ใช้ออกแบบองค์การ
Burn และ Stalker
ลักษณะของงานที่แตกต่างกันในการตอบสนองสภาพแวดล้อมที่คงที่และไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับ
วิธีการแก้ปัญหา ลักษณะความรับผิดชอบ วิธีการควบคุม วิธีการสื่อสาร และวิธีการตัดสินใจ
Walker และ Lorsch
ในการออกแบบองค์การแบบผลิตภัณฑ์หรือแบบหน้าที่ ขึ้นอยู่กับลักษณะของงานที่แตกต่าง
กัน โดยแสดงให้เห็นถึงข้อดีและข้อเสีย (tradeoff) ในการเลือกแบบองค์การในแต่ละแบบ
Mintzberg
ได้แบ่งความแตกต่างของลักษณะงานนี้ว่าเป็นสายปฎิบัติการหรือสายสนับสนุน และให้ความ
สำคัญของการพึ่งพากัน (interdependence) ของทุกส่วนงานในองค์การ
Burton และ Obel
สรุปการออกแบบองค์การมากจากเทคโนโลยีที่ใช้ในความแตกต่างของงาน ในความเป็นทาง
การ การกระจายอำนาจ ความซับซ้อน การวางรูปแบบ ความร่วมมือและการควบคุม รวมทั้ง
การให้ผลตอบแทนจูงใจ
Jacques
ใช้ความแตกต่างของงานของระดับความรับผิดชอบในการกำหนดลำดับขั้นการจัดการ
2. มุมมองทางด้านโครงสร้าง (structural perspective)
การออกแบบโครงสร้างที่เหมาะสมขององค์การนั้น จะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างแนวดิ่ง (vertical differentiation) ซึ่งเป็นการจัดลำดับขั้นขององค์การเพื่อกำหนดอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ ความร่วมมือ และความแตกต่างแนวราบ (horizontal differentiation) ในแต่ละหน่วยงาน
นักทฤษฎี
ความแตกต่างในโครงสร้างที่ใช้ออกแบบองค์การ
Burn และ Stalker
การเลือกโครงสร้างแบบ mechanic หรือ organic ขึ้นอยู่กับลักษณะงาน
Blau และ Scott
โครงสร้างองค์การจะต้องประกอบด้วยองค์ที่เป็นทางการที่ได้รับการสนับสนุนจากองค์การ
ที่ไม่เป็นทางการในการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ
Walker และ Lorsch
การเลือกลักษณะองค์การแบบผลิตภัณฑ์หรือแบบหน้าที่ มีความแตกต่างในการกำหนดโครง
สร้างองค์การที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพ (efficiency) และความร่วมมือกันทำงาน (integration)
Mintzberg
เสนอโครงสร้างของสายปฎิบัติการ จากส่วน strategic apex ที่บริหารส่วน middle line ซึ่งดู
แลส่วน operating core อย่างใกล้ชิด โดยมีสายสนับสนุนจากส่วน technostructure ในการ
สร้างมาตรฐานให้กับสายปฎิบัติการทุกระดับ และส่วน support staff ในการสนับสนุนการ
ทำงานที่อยู่นอกสายปฎิบัติการ
Burton และ Obel
ได้สรุปความแตกต่างโครงสร้างนั้นขึ้นอยู่กับเทคโนโลยี ในหกมุมมองดังที่กล่าวมาข้างต้น
Jacques
เสนอการกำหนดลำดับขั้นการจัดการในโครงสร้างองค์การขึ้นอยู่กับความรับผิดชอบและการ
สร้างมูลค่าเพิ่มในงาน จากแนวคิด responsibility time span
3. มุมมองทางด้านสภาพแวดล้อมองค์การ (environmental perspective)
ปัจจัยที่ี่มาจากสภาพแวดล้อมองค์การจะส่งผลในการตัดสินใจออกแบบโครงสร้างองค์การ
นักทฤษฎี
ความแตกต่างในสภาพแวดล้อมที่ใช้ออกแบบองค์การ
Burn และ Stalker
การออกแบบองค์การ แบบ mechanic หรือ organic ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่คงที่ หรือ
เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
Blau และ Scott
มององค์การที่เป็นทางการว่าเป็นสภาพแวดล้อมที่กำหนดกฎระเบียบและส่งผลต่อกลุ่ม ทำให้
เกิดมีโครงสร้างทางสังคมที่เป็นองค์การไม่เป็นทางการ และเป็นกลไกที่จะนำไปสู่เป้าหมาย
องค์การ
Walker และ Lorsch
สภาพแวดล้อมจะส่งผลในการตัดสินใจเลือกลักษณะองค์การแบบผลิตภัณฑ์หรือแบบหน้าที่
Mintzberg
กล่าวถึง boundary spanning ในทุกส่วนขององค์การที่ต้องปฎิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม โดยใช้
กลไกการปรับตัวร่วมกัน (mutual adjustment)
เชิงอรรถ
1ที่มา. จาก “The Thread of Organization Theory” โดย Nicholas Henry, หน้า 193-246.
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
Generational Differences in Work Values
I. Introduction to Generational Work Values Definition and Importance Generational work values are the collective attitudes, beliefs, and ...
-
แนวคิดของทฤษฎีองค์การคลาสสิก (Classical Organization Theory) โดย ดร.อนุรักษ์ วัฒนะถาวรวงศ์ ทฤษฎีองค์การดั้งเดิมจะมีหลั...
-
การบริหารรัฐกิจ การบริหารธุรกิจ และการจัดการภาครัฐ (Public Administration, Business Administration, and Public Management) ...
-
บทบาทของทฤษฎีในรัฐประศาสนศาสตร์ ( Role of Theory in Public Administration) โดย ดร. อนุรักษ์ วัฒนะถาวรวงศ์ รายงาน...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น